Home » อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้านการยศาสตร์

อันตรายจากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้านการยศาสตร์

by April Craig
758 views
การจัดท่านั่งให้ถูกต้องตามการยศาสตร์

รู้หรือไม่ หากท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมด้านการยศาสตร์ จะเกิดอันตรายอย่างไร

  1. อันตรายต่อเอ็น และกล้ามเนื้อ
  2. อันตรายต่อข้อต่างๆ
  3. อันตรายต่อเส้นประสาท
  4. อันตรายต่อเส้นเลือด

 

ลักษณะท่าทางการทำงาน

  • มือและข้อมือ

    ท่าทางที่เหมาะสม วางมือในแนวราบเป็นเส้นตรง
    ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
    1) การงอนิ้วมือและนิ้วย้อนกลับมาด้านหลังของมือ
    2) การงอมือและนิ้วห้อยลงด้านหน้า
    3) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านหัวแม่มือ
    4) การหักข้อมือให้เบี่ยงออกไปทางด้านนิ้วก้อย
    5) การหมุนมือและแขนแบบหมุนออกทางด้านนิ้วก้อย
    6) การหมุนมือและแขนแบบหมุนเข้าทางด้านนิ้วก้อย

  • แขนและไหล่

    ท่าทางที่เหมาะสม ช่วงหัวไหล่และท่อนแขนในขณะทำงานควรจะระนาบและตั้งฉากกับลำตัวท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง

    1) มือ แขน หรือไหล่เหยียดตรงออกไปด้านหน้าของลำตัว
    2) แขน หรือไหล่เคลื่อนที่ไปทางด้านหลังของลำตัว
    3) เหยียดแขนตรงออกไปด้านข้างของลำตัว
    4) งอแขนเข้าหาลำตัว

  • คอและหลัง

    ท่าทางที่เหมาะสม ในขณะยืนหรือนั่ง กระดูกสันหลังจะต้องโค้งเว้าตามธรรมชาติ
    ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
    1) การงอหลังหรือการโน้มตัวไปข้างหน้า
    2) การบิดเอี้ยวลำตัวตรงกระดูกส่วนเอว
    3) การเอียงลำตัวไปทางด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง
    4) การเอียงคอไปทางด้านข้าง
    5) การก้มเงยคอไปมา
    6) การหันหน้าไปมา

 

  • เข่าและขา

    ท่าทางที่เหมาะสม
    ท่าทางที่ควรหลีกเลี่ยง
    1) การคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานาน
    2) ยืนอยู่ท่าเดียวเป็นเวลานาน

 

ตัวอย่างท่าทางการนั่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง

 

การยืนและนั่งทำงานอย่างถูกวิธี

การออกแบบสถานที่ทำงาน ควรออกแบบให้พนักงานทุกคนทำงานได้สะดวก แม้ว่าขนาดร่างกายและรูปร่างของแต่ละคนจะแตกต่างกัน และควรจัดที่รองเท้าเพื่อช่วยในการปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับลักษณะงานนั้น
ลักษณะงานที่แตกต่างกัน ระดับความสูงของที่ทำงาน หรืองานย่อมต่างกันไปด้วย

  • งานละเอียด เช่น งานเขียน หรืองานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ควรจัดระดับความสูงของงานให้สูงกว่าความสูงระดับข้อศอกพนักงาน 5 เซนติเมตร และควรจัดให้มีที่หมุนหรือที่รองข้อศอก
  • งานเบา เช่น งานประกอบชิ้นงาน หรืองานเครื่องจักรกล ควรจัดระดับความสูงของงานให้ต่ำกว่าความสูงระดับข้อศอก ประมาณ 5-10 เซนติเมตร
  • งานหนัก หรืองานที่ต้องออกแรงกด ควรจัดระดับความสูงของงานให้ต่ำกว่าความสูงระดับข้อศอก 20-40เซนติเมตร

ข้อควรปฏิบัติ

  • ปรับระดับความสูงของงานให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ความสูงระดับข้อศอกเป็นหลัก
  • จัดสภาพงานที่ต้องทำอยู่เสมอให้อยู่ในระดับที่หยิบจับได้ง่าย  สะดวกและเหมาะสม
  • หันชิ้นงานเข้าหาตัว
  • ให้ร่างกายอยู่ใกล้ชิ้นงาน
  • จัดพื้นที่ทำงานให้กว้างพอสำหรับการเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างปฏิบัติงาน
  • ใช้ที่พักเท้าหรือที่วางเท้าหรือให้น้ำหนักของร่างกายไปยังขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • หากเป็นไปได้ควรจัดที่นั่ง

ข้อห้าม

  • ห้ามเอี้ยวหรือบิดตัวไปปฏิบัติงานด้านหลังหากจำเป็นควรหันไปหาชิ้นงานทั้งตัว
  • ห้ามเอื้อมไปปฏิบัติงานเกินขอบเขตพื้นที่ทำงานปกติ
  • ห้ามเอื้อมไปปฏิบัติงานสูงเกินระดับไหล่ผู้ปฏิบัติงาน

การยืน หรือการนั่งทำงานตลอดเวลาก่อให้เกิดความไม่สบายและความเมื่อยล้า การเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถบ่อย ๆ เช่น การนั่งสลับกับการยืนจะช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดความเมื่อยล้า

สถานที่ทำงานสำหรับงานนั่ง / ยืน

  • ปรับสถานที่ทำงานให้มีความสูงที่เหมาะสม
  • ใช้เก้าอี้หมุนซึ่งปรับความสูงของที่นั่งได้
  • ปรับที่นั่งให้มีระดับต่ำกว่างานที่ทำอยู่ 25 – 35 เซนติเมตร
  • ใช้ที่พักเท้าที่มีความสูง 40 – 50 เซนติเมตร

สถานที่ทำงานแบบครึ่งวงกลม

  • จัดให้ทำงานแบบครึ่งวงกลม
  • ใช้เก้าอี้หมุนเพื่อ
  • ลดการบิดตัวของผู้ปฏิบัติงาน
  • ลดการเคลื่อนไหวด้านข้าง
  • หากเป็นไปได้ใช้พื้นผิวงานที่มีความลาดเอียงเพื่อ
  • ลดการโก้งโค้งทำงาน
  • เพื่อช่วยให้ปฏิบัติงานสะดวกยิ่งขึ้นขณะนั่งหรือยืน

 

ท่านั่งที่เหมาะสมดีอย่างไร

 

เก้าอี้สำหรับนั่ง / ยืนทำงาน

  • ที่นั่งควรมีความกว้างอย่างน้อย 40 เซนติเมตร
  • เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
  • ที่นั่งไม่ควรหุ้มด้วยวัสดุที่ลื่นหรือแข็ง
  • เลือกเบาะที่นั่งที่มีความหนา 2- 3 เซนติเมตร
  • ควรจัดให้คนงานสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในท่านั่งและยืน
  • สำหรับพื้นที่ที่จำกัด ควรใช้เก้าอี้ชนิดพับเก็บได้
  • เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง
  • จัดให้มีเก้าอี้นั่งพัก แม้ลักษณะงานนั้นจะต้องยืนปฏิบัติงานตลอดเวลา

 

วิธีการทำงานที่ถูกต้อง

  1. มือและข้อมือ

          ท่าทางปกติในขณะทำงาน

  1. มือและข้อมืออยู่ในแนวตรงคล้ายการจับมือทักทาย
  2. ควรปรับระดับความสูงของตำแหน่งวางชิ้นงานให้เหมาะสม กับตำแหน่งการวางมือและข้อมือ
  3. ควรวางชิ้นงานตรงหน้าโดยตรง
  4. หากมีการเคลื่อนที่ของชิ้นงานในขณะทำงาน ควรสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมือ

           การทำงานซ้ำๆ กัน

  1. หลีกเลี่ยงการออกแรงทำงานของมือเดิมซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน
  2. ควรมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของมือและข้อมือไปมา
  3. ควรสลับเปลี่ยนชิ้นงานที่ต้องทำให้หลากหลายหากต้องทำงานใดเป็นเวลานานๆ
  4. ถ้าเป็นไปได้ควรมีการสลับหน้าที่การทำงานกันบ้าง

            การออกแรงจับถือ

  1. ลดการออกแรงจับถือชิ้นงานโดยการใช้ทั้งมือจับ
  2. หลีกเลี่ยงการจับถือสิ่งของที่ใหญ่เกินไป หรือเล็กเกินไป
  3. ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ทั้งสองมือทำงานประสานร่วมกัน
  4. ใช้วิธีการลากหรือเลื่อนสิ่งของแทนที่จะใช้วิธีการจับขึ้นในแนวดิ่ง

           การใช้ถุงมือและมือจับ

  1. พิจารณาขนาดและตำแหน่งของมือจับให้รู้สึกถนัดกระชับ
  2. ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดพอเหมาะกับมือ
  3. ควรใช้ถุงมือที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่บีบรัดการไหลเวียนเลือด

             การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์

  1. พยายามหลีกเลี่ยงการงอบิดของข้อมือบ่อยครั้งเกินไป
  2. พยายามลดการออกแรงกดที่ไม่จำเป็น
  3. ดูแลรักษาเครื่องมือให้ปลอดภัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
  4. ใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของมือในการใช้เครื่องมือ

 

 2. แขนและไหล่

              ท่าทางปกติ

  1. ควรรักษาระดับของไหล่และแขนให้อยู่ในท่าทางปกติ คือ ในระดับของการจับมือทักทายกัน
  2. ข้อศอกควรอยู่แนบกับลำตัว
  3. ข้อศอกควรอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับที่รองรับน้ำหนักในการทำงานของท่อนแขน

             การเอื้อมจับ

  1. พยายามลดความถี่ในการที่จะต้องยื่นแขนออกไปจับวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน
  2. พยายามลดการที่ต้องยกแขนหรือไหล่ในการเอื้อมมือไปจนสุดเอื้อม

            การเคลื่อนไหวในขณะทำงาน

  1. ใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการยกหรือโยนชิ้นงานขึ้นเหนือศีรษะ
  3. ใช้วิธีการวางชิ้นงานลงเมื่อทำเสร็จ แทนการออกแรงโยน

         การคงท่าเดิมขณะทำงาน

  1.  หลีกเลี่ยงการทำงานท่าเดิมโดยตลอด
  2. ใช้วิธีการหมุนเปลี่ยนงานที่ทำ
  3. ใช้เครื่องมือช่วยในการจับวัสดุอุปกรณ์หรือชิ้นงานในขณะทำงาน
  4. ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนเพื่อให้เกิดการคลายตัว

 

ผลจากการวางมือและแขนไม่ถูกต้อง

 

3. คอและหลัง/ การทำงานในท่านั่ง

         ท่านั่งปกติในขณะทำงาน

  1. นั่งทำงานในท่าทางที่การจัดเรียงตัวของกระดูกสันหลังได้รูปทรงตามธรรมชาติ
  2. ใช้เก้าอี้ที่ปรับได้
  3. ถ้าจำเป็นควรใช้ที่รองเท้ารับน้ำหนัก

            การเอื้อมหยิบ

  1. ควรจัดให้วัสดุอุปกรณ์อยู่ในรัศมีที่หยิบจับได้ง่าย
  2. ควรยืนขึ้นหยิบจับสิ่งของมากกว่าการเอื้อมมือไปหยิบ

           การรักษาสภาพสมดุลในขณะนั่ง

  1. ควรเปลี่ยนท่านั่งเป็นครั้งคราว สม่ำเสมอ
  2. ควรใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงเต็มที่
  3. ใช้วิธีการบริหารร่างกายเข้าช่วย

    การทำงานในท่ายืน

           ท่าปกติของการยืนทำงาน

  1. ยืนทำงานในท่าที่กระดูกสันหลังจัดเรียงตามธรรมชาติ
  2. ปรับระดับพื้นที่การทำงานให้มีความสูงเหมาะสมกับส่วนสูงของคนทำงาน
  3. ใช้ที่รองขายกตัวขึ้น หากพื้นที่ทำงานอยู่สูงเกินไป
  4. จัดวางวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ทำงานให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงโดยสะดวก
  5. ใช้ที่รองขาหากต้องเอื้อมจับสิ่งของที่แขวนอยู่เหนือศีรษะ
  6. หลีกเลี่ยงการโค้งงอตัวลงในการทำงาน
  7. หากชิ้นงานอยู่ในระดับต่ำ ควรคุกเข่าหรือนั่งลงทำงาน แทนการโค้งงอหลังลงทำงาน

            การรักษาสมดุลในการยืน

  1. ควรมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่ายืนไปมา
  2. ใช้รองเท้าที่มีส่วนรองรับน้ำหนักอย่างเหมาะสมกับลักษณะของเท้า
  3. ใช้ยกพื้นเพื่อยกขาขึ้นพักขณะยืนทำงานเป็นเวลานาน
  4. ใช้วิธีการบริหารเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง

 

4. เข่าและขา

  1. หลีกเลี่ยงการคุกเข่าหรืองอขาเป็นระยะเวลานานในขณะทำงาน
  2. ถ้าเป็นไปได้ควรยกวัสดุชิ้นงานขึ้นมาในระดับที่จะทำให้สามารถยืนทำงานได้สะดวก
  3. ใช้แผ่นรองหัวเข่า หากจำเป็นต้องคุกเข่าทำงาน

เรื่องที่เกี่ยงข้อง

CONCEPTOCOMUNICACION

เว็บไซต์รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ที่ครอบคลุมทุกระดับความรู้

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by Conceptocomunication