Home » 5ส เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานพร้อมวิธีการปฏิบัติ 5S

5ส เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานพร้อมวิธีการปฏิบัติ 5S

by April Craig
624 views
5ส เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

เราจะใช้ 5ส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเราได้อย่างไร

5ส คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บอุปกรณ์สิ่งของรอบตัว หรือบริเวณที่ทำงานของเราให้สามารถหยิบจับและใช้งานได้สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งหลัก 5ส นั้นมีมานานมากแล้วและเริ่มเป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ในการนำมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต และ หลังจากนั้นก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไป ที่ได้หยิบ 5ส ได้ประยุกต์ใช้งานในบ้าน โรงงาน มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ ต่างๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของการทำ 5ส

กิจกรรม 5ส เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบ และการทำความสะอาดในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน บ้านที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ทำงาน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่มีความเป็นระเบียบ สะอาด มีความปลอดภัย มีบรรยากาศที่ดี ทำให้ทุกคนมีความสุขที่อยู่ในสถานที่นั้น เพราะมองไปทางไหนก็สะอาด สิ่งของต่างๆเก็บอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และที่สำคัญไม่มีใครได้รับอุบัติเหตุจากสถานที่นั้น

 

การจัดเอกสารให้เป็นหมวดหมู่

 

ความเป็นมาของกิจกรรม 5ส

5ส เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ทุกคนจะทำเป็นประจำวันทุกวัน ถือเป็นนิสัยของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ที่ต้องการให้สถานที่โรงเรียน บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว หรือที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่มีความเป็นระเบียบและสะอาดอยู่เสมอ เช่น โรงเรียนจะต้องสะอาดไม่มีขยะหรือเศษกระดาษตามพื้นห้องเรียนหรือพื้นนอกห้อง เรียน หรือบริเวณต้นไม้ ในห้องน้ำ

เมื่อทุกคนเสร็จภารกิจแล้วต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย บันไดต้องมีการแบ่งให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทางขวามือเป็นทางขึ้น ทางซ้ายมือเป็นทางลง เพื่อให้ผู้เรียนขึ้นลงได้สะดวกไม่เสียเวลาไม่ชนกันจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนป้ายประกาศจะต้องมีการสะสางเอกสารที่ติดป้ายไว้นานแล้วออก แล้วนำเอกสารใหม่มาติดอยู่ตลอดเวลา การกระทำที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นตัวอย่างของการทำกิจกรรม 5ส
สำหรับประเทศไทยได้รับกิจกรรม 5 ส มาจากประเทศญี่ปุ่น โดยคำว่า 5 ส มาจากพยัญชนะตัวแรก ในภาษาไทยที่แปลมาจากคำใน

ภาษาญี่ปุ่นซึ่งเป็นองค์ประกอบของ 5 ส ได้แก่

  • สะสาง (Seiri) การแยกประเภทสิ่งของต่างๆ
  • สะดวก (Seiton) การจัดระเบียบ
  • สะอาด (Seiso) การทำความสะอาด
  • สุขลักษณะ (Seiketsu) การรักษามาตรฐาน
  • สร้างนิสัย (Shitsuke) การสร้างระเบียบวินัยแก่ตนเอง

องค์ประกอบกิจกรรม 5ส

  • ในระดับนี้เราจะมาเรียนรู้กันเพียง 3 ส แรกเท่านั้น คือ
    • ส . สะสาง (Seiri อ่านว่า เซ – ริ )
    • ส . สะดวก (Seiton อ่านว่า เซ – ตง )
    • ส . สะอาด (Seiso อ่านว่า เซ – โซ )

จากนี้เราจะมาเรียนรู้ความหมายของ 3 ส ว่าคืออะไร มีวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้สถานที่ต่างๆ มีความเป็นระเบียบ มีความสะอาด เพื่อช่วยกันทำให้บรรยากาศในโรงเรียน บ้าน ที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ดี นำไปสู่สุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี

เทคนิคการทำกิจกรรม 5ส

  1. ส . สะสาง (Seiri) หมายถึง การแยกระหว่างของที่จำเป็นและของที่ไม่จำเป็น และกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป ผู้เรียนดูภาพข้างล่าง ซึ่งเป็นภาพภายในบ้านที่จัดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วผู้เรียนลองคิด ว่าจะเกิดปัญหาอะไรบ้างผู้เรียนสังเกตภาพภายในบ้านนี้ จะพบว่า
  2. มีสิ่งของต่างๆเก็บไว้จำนวนมากโดยไม่รู้ว่าสิ่งใดสามารถใช้ได้หรือสิ่งใดไม่สามารถใช้ได้แล้ว
  3. พื้นที่คับแคบเพราะมีสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หนังสือ วางเกะกะจนไม่มีทางเดิน
    ดังนั้น ถ้าบ้านของผู้เรียนมีลักษณะแบบนี้ แสดงว่าบ้านของเราจัดไม่เป็นระเบียบมีสิ่งของต่างๆวางไว้เต็มบ้าน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่างๆ เช่น เสียพื้นที่ภายในบ้าน เสียเวลาในการหาของ เสียค่าใช้จ่ายในซื้อตู้ ชั้นต่างๆเพื่อนำมาเก็บสิ่งของ เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นการจะทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไปต้องมีการทำ ส . สะสาง เพื่อให้เรามั่นใจว่ามีแต่ของที่จำเป็นอยู่ในบ้านหรือในโรงเรียนของเราเท่า นั้น

 

การทำความสะอาดโต๊ะตัวเอง

 

วิธีการทำ ส . สะสาง

ต้องเริ่มต้นจากการนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป จากพื้นที่นั้น สิ่งของที่ไม่จำเป็น คือ สิ่งของที่เราไม่ได้ใช้แล้วหรือสิ่งของที่เราไม่ได้ใช้มานานแล้ว อาจจะเกิดจากของนั้นชำรุด แตกหัก หรือหมดอายุแล้ว เช่น

  1. เมื่อผู้เรียน ทำการสะสางแล้วพบว่าปากกาบางด้ามเขียนไม่ติดเพราะหมึกหมดแล้ว ผู้เรียนก็ต้องกำจัดปากกาที่หมึกหมดแล้วออกจากกระป๋องที่เก็บปากกา
  2. บ้าน ของผู้เรียนรับหนังสือพิมพ์ทุกวัน ผู้เรียนต้องสะสางหนังสือพิมพ์ฉบับเก่าของเดือนที่แล้วหรืออาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งไม่ใช่ของที่จำเป็นในเวลานั้นออกไปจากพื้นที่ โดยผู้เรียนอาจจะนำไปขายให้รถรับซื้อของเก่าที่มารับซื้อหนังสือพิมพ์
  3. ใน บริเวณโรงเรียน อาจมีเอกสารที่ไม่จำเป็นอยู่ในห้องพักผู้สอน เช่น เอกสารเรียนหลักสูตรเก่า คุณผู้สอนก็ต้องสะสางเอกสารที่ไม่ได้ใช้แล้วออกจากพื้นที่นั้น โดยอาจจะเก็บไว้ที่ห้องปากกาที่อยู่บนโต๊ะเขียนหนังสือมีหลายด้ามมาก ทำให้ต้องมีกระป๋องหลายใบไว้สำหรับเก็บปากกา เก็บของ หรือนำไปทำลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎระเบียบการทำลายเอกสารที่ ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น เพื่อจะได้นำเอกสารใหม่มาวางไว้ในพื้นที่นั้นแทน ไม่ต้องไปซื้อตู้ เก็บเอกสารใหม่ให้สิ้นเปลือง และไม่ต้องหาพื้นที่สำหรับจัดวางตู้ใหม่นั้นเคล็ดลับ

เมื่อผู้เรียนกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากพื้นที่แล้ว ผู้เรียนต้องพิจารณาว่าจะนำสิ่งของนั้นไปทิ้งหรือไปขาย ถ้าของนั้นมีค่า เช่น รถจักรยานเก่ามากและเราไม่ได้ใช้แล้วจะนำไปขายหรือนำไปบริจาค แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่หมดอายุแล้ว เช่น ขนมปัง ก็ต้องทิ้งไป ไม่ต้องลังเลและเสียดายสิ่งของที่ใช้ไม่ได้และสิ่งของที่ไม่ได้ใช้มานานแล้ว เมื่อผู้เรียนแยกสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปแล้ว ก็จะเหลือแต่สิ่งของที่จำเป็น

ดังนั้น สิ่งของที่จำเป็น คือ สิ่งของที่เราต้องใช้บ่อยๆหรือเป็นประจำทุกวัน เช่น แปรงสีฟัน แปรงหวีผม จาน ช้อนส้อม กระติกน้ำ สิ่งของที่ใช้ทุกอาทิตย์ เช่น หนังสือเรียนพิเศษ ที่ตัดเล็บ ชุดว่ายน้ำ หรือ สิ่งของที่นานๆใช้ เช่น กระเป๋าเดินทาง กรรไกรตัดผม เสื้อกันหนาว เป็นต้น

หลักการจัดเก็บสิ่งของที่จำเป็นของที่จำเป็นต้องใช้บ่อยๆ ให้เก็บไว้ใกล้ๆตัว และสามารถได้หยิบง่ายเมื่อต้องใช้ เช่น แปรงสีฟันผู้เรียนต้องใช้ทุกเช้าและก่อนเข้านอน เมื่อผู้เรียนจะใช้ต้องหยิบง่าย ได้เร็ว จุดที่ควรสะสางสิ่งของที่ไม่จำเป็นภายในบ้าน ที่ผู้เรียนสามารถทำได้

  • ตู้เก็บเสื้อผ้าและตู้เก็บของเล่น
    พิจารณาว่ามีเสื้อผ้าหรือของ เล่นที่ไม่จำเป็น เช่น เสื้อที่ใส่ไม่ได้แล้ว หรือของเล่นบางชิ้นชำรุด แตก เสียหายแล้วให้กำจัดออกไป จะนำไปบริจาคหรือนำไปขายขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เรียนร่วมกับผู้ปกครอง
  • ชั้นเก็บหนังสือ ตู้เก็บหนังสือ
    ให้ผู้เรียนว่าหนังสือหรือ เอกสารใดบ้าง ที่ปีนี้ไม่ได้ใช้แล้วให้ทำการสะสางออกจากชั้นหรือตู้เก็บหนังสือ เพื่อที่จะนำหนังสือที่จะเรียนในปีนี้เก็บไว้แทนจะได้ไม่ต้องซื้อตู้หรือ ชั้นเก็บหนังสือใหม่
  • ห้องนอน
    มีสิ่งของอะไรบ้างในห้องนอนของผู้ เรียนที่ไม่ได้ใช้แล้ว เช่น ตุ๊กตา หนังสือการ์ตูน เป็นต้น ให้นำออกจากห้องนอน เพื่อจะได้มีพื้นที่ห้องนอนกว้างขึ้น
  • โต๊ะทำการบ้าน
    มีปากกา ดินสอสี กระดาษ ทั้งที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้วางปะปนกันอยู่ ห้ทำการแยก และจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
  • หัวใจสำคัญของการสะสาง คือ ต้องมั่นใจว่ามีแต่สิ่งของที่จำเป็นในการใช้งานเท่านั้น
    ประโยชน์ของการสะสาง
  • พื้นที่ไม่คับแคบ มีพื้นที่มากขึ้น เพราะมีการสะสางของที่ไม่จำเป็นและขจัดออกไป
  •  ประหยัดในการซื้อตู้เอกสาร ชั้นวางของต่างๆ
  • บรรยากาศในบ้านดีขึ้น

 

การจัดโต๊ะทำงานเป็นระเบียบหยิบของสะดวก

 

ส. สะดวก (Seiton)

หมายถึง การจัดเก็บสิ่งของต่างๆที่จำเป็นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อจำเป็นต้องใช้สิ่งของนั้นก็ สามารถค้นหาได้รวดเร็ว และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็สามารถนำสิ่งของนั้น เก็บเข้าที่ได้อย่างถูกต้อง
หลังจากที่ผู้เรียนได้ทำการสะสางแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจัดเก็บสิ่งของที่จำเป็นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวกในการใช้งาน ตัวอย่างการจัดเก็บหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

เมื่อผู้เรียนสะสางตู้เก็บหนังสือแล้วเหลือแต่หนังสือที่จำเป็นต่อการใช้งาน จากนั้นให้ผู้เรียนพิจารณาว่าหนังสือของเราเป็นหนังสือประเภทใดบ้าง ผู้เรียนต้องจัดประเภทของหนังสือต่างๆให้เป็นหมวดหมู่ เช่น

  • หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาคณิตศาสตร์หนังสือ
  • อ่านภาษาไทยก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาภาษาไทย
  • หนังสือคำศัพท์ภาษาอังกฤษก็ควรอยู่ในกลุ่มหนังสือวิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น

หลังจากนั้นให้ผู้เรียนกำหนดที่วางหนังสือแต่ละกลุ่ม ว่าจะวางไว้ที่ไหนของชั้นวางหนังสือโดยยึดหลักความสะดวกในการหยิบใช้งาน เช่น

  • กลุ่มหนังสือวิชาคณิตศาสตร์ต้องใช้ทุกวัน ก็ควรจัดวางไว้ที่ชั้นระดับสายตาของเรา ซึ่งสามารถหยิบใช้ได้ง่าย
  • ส่วนกลุ่มหนังสือที่นานๆใช้ ก็ควรเก็บไว้ในชั้นบนของชั้นวางหนังสือ
  • สำหรับกลุ่มหนังสือที่ใช้เป็นบางครั้งและเป็นหนังสือเล่มใหญ่หรือหนามากก็ ควรเก็บไว้ที่ชั้นล่าง

เมื่อมีการกำหนดที่วางหนังสือแต่ละกลุ่มแล้ว เราก็ติดป้ายบอกที่วาง เช่น นำป้ายที่เขียนว่า กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ไปติดไว้ที่ชั้นหนังสือที่สูงระดับสายตา เมื่อผู้เรียนนำหนังสือกลุ่มนี้ไปใช้ก็จะนำกลับมาเก็บไว้ที่เดิมได้อย่างถูก ต้องรวดเร็ว

CONCEPTOCOMUNICACION

เว็บไซต์รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ที่ครอบคลุมทุกระดับความรู้

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by Conceptocomunication